วิชาประวัติศาสตร์ไทย

        ความหมายภูมิปัญญาไทย   
      
                 ภูมิปัญญาไทย ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ความสามารถ วิธีการผลงานที่คนไทยได้ค้นคว้า รวบรวม และจัดเป็นความรู้ ถ่ายทอด ปรับปรุง จากคนรุ่นหนึ่งมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดผลิตผลที่ดี งดงาม มีคุณค่า มีประโยชน์ สามารถนำมาแก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตได้แต่ละหมู่บ้าน แต่ละชุมชนไทย ล้วนมีการทำมาหากินที่สอดคล้องกับภูมิประเทศ มีผู้นำที่มีความรู้ มีฝีมือทางช่าง สามารถคิดประดิษฐ์ ตัดสินใจแก้ปัญหาของชาวบ้านได้ ผู้นำเหล่านี้ เรียกว่า ปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ทรงภูมิปัญญาไทย
     คุณค่าเเละความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
 
เพิ่มเติ่ม
      ประเภทภูมิปัญญาไทย
1. ภูมิปัญญาด้านคติธรรม ความคิด ความเชื่อ หลักการที่เป็นพื้นฐานขององค์ความรู้
ที่เกิดจากการสั่งถ่ายทอดกันมา

2. ภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
ที่เป็นแบบแผนการ
ดำเนินชีวิตที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา

3. ภูมิปัญญาด้านการประกอบอาชีพในท้องถิ่น ที่ยึดหลักการพึ่งตนเองและ
ได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับกาลสมัย

4. ภูมิปัญญาด้านแนวความคิด หลักปฏิบัติ และเทคโนโลยีสมัยใหม่
ที่ชาวบ้านนำมาดัดแปลงใช้ในชุมชนอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่




ภูมิปัญญาไทยด้านอาหารไทย อาหารสุขภาพ
            คุณลักษณะพิเศษของอาหารไทย คือ นอกจากจะให้คุณค่าทางโภชนาการที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างครบถ้วนแล้ว ยังให้สรรพคุณทางยาและสมุนไพร รวมทั้งสะท้อนถึงมิติทางภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น อาหารไทยจึงมีคุณค่า และเป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทยที่ควรได้รับการเผยแพร่ให้เป็นที่นิยมบริโภค ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจตั้งแต่ในระดับชุมชนจนถึงระดับประเทศ
             อาหารไทย มีความหลากหลายในรสชาติ อาหารในแต่ละภาค มีเอกลักษณ์ เป็นของตนเอง ความแตกต่างของอาหารนั้น   ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น สภาพแวดล้อม ทรัพยากรทางธรรมชาติ วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

 อาหารไทย  4  ภาค
          อาหารไทยทั้ง 4 ภาค ได้แก่ภาคเหนือ  ภาคใต้ ภาคอีสาน(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และภาคกลาง ต่างมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง มีความหลากหลายในรสชาติ  เครื่องปรุง  และกรรมวิธีในการปรุง จึงได้จานอาหารท้องถิ่นที่แตกต่างกันทั้งรูปลักษณ์  เนื้ออาหาร  ลักษณะอาหารและรสชาติ  อาหารแต่ละจานมีประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการที่น่าสนใจ ความต่างนั้นเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย เช่นวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน  สภาพแวดล้อม  และทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่เหมือนกัน  มีส่วนกำหนดให้อาหารของแต่ละภาคต่างกัน
ต้มยำกุ้ง
อาหารภาคกลาง
ขนมจีนน้ำเงี้ยว
อาหารภาคเหนือ
ลาบ
อาหารภาคอีสาน
ข้าวยำใต้
อาหารภาคใต้ 



คลิกทำข้อสอบ